เล่นเกมมากๆ เสี่ยงเป็นโรคติดเกม หนึ่งในโรคทางจิตเวช
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้ โรคติดเกม เป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวช ซึ่งถือว่าเป็นโรคที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาสมอง พัฒนาการ และพฤติกรรมของเด็ก มีผลกระทบในด้านลบต่อสุขภาพ ครอบครัว การศึกษา อาชีพ และทางสังคม โดยในประเทศไทย คาดว่าจะมีเด็กติดเกมและมีเด็กเสี่ยงติดเกม ประมาณ 2 ล้านคน
โรคติดเกม (Gaming Disorder) คือ โรคที่เกิดจากพฤติกรรมการเสพติดทางสมอง ซึ่งมีลักษณะคล้ายการติดสารเสพติด จะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาสมอง พัฒนาการ และพฤติกรรมของเด็กๆ ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการเล่นเกมทางอินเทอร์เน็ตหรือทางสื่อโซเซียล
อาการที่สำคัญ
1.จะใช้เวลาเล่นนานเกินไป
2.ขาดการควบคุมตนเองในการใช้ชีวิตปกติ เช่น การกิน การนอน
3.เสียหน้าที่การเรียนและการงาน
ผลของการติดเกมในแต่ละช่วงจะมีผลที่ต่างกัน ดังนี้
- เด็กก่อนวัยเรียน จะทำให้เกิดสมาธิสั้น ขาดทักษะการเข้าสังคม และจะมีพัฒนาการช้ากว่าเด็กปกติ
- เด็กในช่วงวัยเรียน จะทำให้เป็นคนอ้วน สายตาสั้น มีอารมณ์รุนแรง ติดเกม และขาดวินัยทางการเรียน
- เด็กในช่วงวัยรุ่น จะมีค่านิยม พฤติกรรมทางเพศที่เปลี่ยนแปลงไป ติดค่านิยมบริโภค ถูกรังแก ถูกล่อลวงง่าย
หากมีปัญหานี้ เกิดขึ้นกับครอบครัวจะมีวิธีป้องกันหรือแก้ไขอย่างไร
การที่เด็กอยู่นิ่งๆ ไม่มีความซุกซน เพราะเอาแต่นั่งเล่นเกมในแท็บเล็ต หรือในคอมพิวเตอร์ จะส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าผลดี ดังนั้นผู้ปกครองควรให้เด็กเล่นสื่อโซเซียลอย่างพอดี ไม่ตามใจ เล่นในเวลาที่เหมาะสม และจำกัดเวลาในการเล่น ก็จะช่วยเสริมสร้างทักษะความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งมีแนวทางนี้
1.ให้เด็กได้จับหรือเล่นแท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ เมื่อช่วงอายุ 4 ขวบขึ้นไป
2.เวลาที่เด็กเล่นเกมผู้ปกครองต้องคอยแนะนำอยู่ข้างๆ และควรเลือกเกมที่เหมาะสมกับวัย เกมที่เล่นต้องไม่มีความรุนแรง หรือควรเป็นเกมที่เสริมพัฒนาการของเด็กให้เหมาะสมกับวัย
3.จำกัดเวลาในการเล่น ให้เล่นเกมได้ไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง/วัน และไม่ควรให้เล่นก่อนนอน เพราะจะเป็นการกระตุ้นให้นอนหลับยากมากขึ้น
สิ่งที่สำคัญ ผู้ปกครองไม่ควรเลี้ยงลูกหลานด้วยเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์โซเซียลต่างๆ เพราะจะทำให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง ชอบเอาชนะ เด็กจะไม่เชื่อฟังในสิ่งที่ผู้ปกครองตักเตือนได้
วิธีการเล่นเกมแต่พอดี
อายุที่ควรเริ่มในการเข้าถึงเกมหรือสื่อบันเทิงออนไลน์ ควรมีอายุ 13 ปีขึ้นไป และต้องควบคุมการเล่นเกม 9 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
การสำรวจตัวเองว่าอยู่ในภาวะติดเกมหรือไม่
ระดับเล่นปกติ – วินัยการแบ่งเวลาในการเล่นเกมหรือรับชมสื่อออนไลน์จากเกมด้วยความพอดี เช่น ช่วงเวลาพัก หรือเล่นยามว่าง และควรจำกัดเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง
ระดับเล่นจนติดใจ – วินัยการแบ่งเวลาในการเล่นเกมหรือรับชมสื่อออนไลน์จากเกมจะมีความเกินเวลาแล้ว อารมณ์และพฤติกรรมจะเริ่มมีความกังวล เหงา เริ่มห่างเหินจากคนรอบช้าง ควรมีการจำกัดการเล่นไม่เกิน 2 เกม
ระดับเล่นจนเริ่มสงสัย – วินัยการแบ่งเวลาในการเล่นเกมหรือรับชมสื่อออนไลน์จากเกมจะมีการใช้เวลามากเกินไป อารมณ์และพฤติกรรมจะเริ่มมีความหงุดหงิด เบื่อหน่าย เศร้า ชอบอยู่ตามลำพัง ชอบอยู่คนเดียว ควรมีการหยุดหรือพักห่างจากการเล่นเกมประมาณ 2 วัน
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ถ้าเริ่มสงสัยว่าตัวเองจะอยู่ในภาวะติดเกม ควรจะหางานอดิเรกทำเพื่อมาทดแทนช่วงเวลาที่เอาไปใช้ในการเล่นเกม หรืออยู่กับเพื่อนและคนรอบข้างมากขึ้น พูดคุยกับคนในครอบครัว ไม่อยู่ตามลำพัง หากีฬา ร้องเพลง ออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมต่างๆ และควรศึกษาเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อเป้าหมายในอนาคต
สำหรับเด็กที่มีภาวะติดเกม วิธีการรักษาแนะนำให้ไปพบจิตแพทย์ เพื่อวินิจฉัยอาการว่ามีภาวะติดเกมแค่ไหน จะได้มีการรักษาได้ถูกต้อง ซึ่งการรักษาจะเริ่มตั้งแต่ มีการพูดคุยให้คำปรึกษา แนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จนไปถึงการใช้ยารักษาต่อไป
แบบทดสอบว่าอยู่ในภาวะติดเกมหรือไม่?
ติดต่อ Line ID : @indigital (มี@ นะคะ)
คลิกเพื่อ ADD Line : https://line.me/R/ti/p/%40indigital
Fanpage : INdigital การตลาดออนไลน์
คลิก https://www.facebook.com/indigital.co.th/
เว็บไซต์ : www.indigital.co.th
ที่มา – สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์