วัดผล KPI บน Facebook
KPI ที่ต้องใช้สำหรับการทำการตลาดบน Facebook และใช้สื่อสารกับเอเจนซี่ สำหรับคนที่เคยซื้อโฆษณาบน Facebook หรือเคยจ้างเอเจนซี่ในการโฆษณา Facebook จะเข้าใจว่า สิ่งที่ผู้ใช้ต้องการนั้น ไม่รู้ว่าจะเรียกหรือสื่อสารอย่างไรให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน สุดท้ายก็จะเสียเวลากว่าจะทำความเข้าใจกัน เพื่อเป็นการประหยัดเวลา ผู้ใช้ควรทำความรู้จักกับ KPI ที่ต้องใช้ในการทำการตลาดบน Facebook กันก่อน เมื่อผู้ใช้รู้ในส่วนนี้แล้วการทำงานก็จะมีความเร็วขึ้นจากเดิมมากถึง 50% เลยทีเดียว
KPI คืออะไร?
Key Performance Indicator หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า KPI เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลหรือประเมินผลการทำงานในเชิงข้อมูล เป็นตัวที่กำหนดประสิทธิภาพของผลงานที่ผู้ใช้ได้ทำนั้นว่าผ่านเกณฑ์หรือไม่ สำหรับการทำธุรกิจก็ต้องมี KPI ไว้ใช้ในการประเมินผลงานเช่นเดียวกัน
KPI ที่จำเป็นที่ต้องใช้ในการวัดผลประกอบการ หรือใช้ในการสื่อสารกับพนักงาน องค์กร รวมถึงเอเจนซี่ ว่าผู้ใช้ต้องการผลตอบรับ หรือผลประกอบการให้เป็นไปในรูปแบบไหน สำหรับในการกำหนด KPI จะอ้างอิงจากวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์ที่ต้องการ รวมถึงปัจจัยต่างๆ ที่สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์นั้น ซึ่งสามารถใช้เป็นตัวดัชนีชี้วัดความสำเร็จในการทำงานได้
การวัด KPI สำหรับการตลาดบน Facebook ก็เหมือนกับการตั้งเป้าหมายที่มีการตั้งความสำเร็จของธุรกิจไว้แล้ว โดยจะมีการแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การวัดผลด้านคุณภาพ และ การวัดผลด้านโฆษณา
การวัดผลด้านคุณภาพ
การวัดผลด้านคุณภาพ ในแต่ละองค์กรจะมีการวัดผลในส่วนนี้ที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละประเภทของธุรกิจขององค์กรนั้น แต่สำหรับส่วนที่ทุกองค์กรสามารถนำไปใช้ในการวัดผลได้เหมือนกันสำหรับทุกองค์กรได้ คือ ความถี่ที่ใช้ในการโพสต์
ความถี่ที่ใช้ในการโพสต์ (Post Type and Frequency) ความถี่ในการโพสต์ จะส่งผลโดยตรงในการสร้างการรับรู้ ยิ่งความถี่ในการโพสต์มีความสม่ำเสมอเท่าไหร่ ผู้ที่ใช้งาน Facebook ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายก็จะมีโอกาสที่ได้เห็นในสิ่งที่โพสต์มากขึ้น
ประเภทของการโพสต์
ประเภทหรือรูปแบบของการโพสต์จะถูกแบ่งออกเป็น 4 อย่างด้วยกัน คือ
- การโพสต์ Text
การโพสต์แบบ Text คือ การใช้การพิมพ์โพสต์โดยตรง ซึ่งจะไม่แนะนำการโพสต์แบบนี้ เพราะด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป การพิมพ์ข้อความธรรมดาจะทำให้สิ่งที่โพสต์สื่อออกไปถูกเลื่อนหายไปใน New feed บน Facebook แต่ถ้าการพิมพ์โพสต์นั้น มีความยาว และเป็นการให้ความรู้ ก็อาจจะเพิ่มความน่าสนใจให้ผู้ที่ใช้งานบนหน้าฟีดได้
ที่มารูปภาพ : อีเจี๊ยบ เลียบด่วน
- การโพสต์ Photo
การโพสต์แบบการใช้รูปภาพเป็นส่วนประกอบเนื้อหา การเล่าเรื่องราวผ่านภาพ หรือจะทำเป็นภาพแบบ Photo Series ก็ได้ ซึ่งในการใช้รูปภาพเป็นสื่อประกอบสามารถดึงดูดกลุ่มลูกค้าได้ในระดับนึง ซึ่งองค์ประกอบการใช้คำหรือตัวอักษรที่วางในภาพ และการเลือกภาพที่จะนำมาใช้ จะมีผลอย่างมากในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโพสต์นั้น
- การโพสต์ Video
การโพสต์แบบวิดีโอ เป็นหนึ่งในช่องทางที่สามารถสร้าง Engagement ได้เป็นอย่างดีสำหรับ Facebook และในปัจจุบัน Facebook ได้ให้ความสนใจคอนเทนท์ของวิดีโอมากขึ้นด้วย การใช้วิธีการโพสต์วิดีโอในการสื่อสารจึงจัดเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่สามารถทำให้เกิด Engagement ได้เป็นอย่างดี
- การโพสต์ Link
การโพสต์โดยการใช้ลิงค์วางเพื่อดึงให้ผู้ที่ติดตามกดคลิกเข้ามา แล้วนำออกไปอ่านคอนเทนท์บนหน้าเว็บไซต์ที่วางลิงค์ไว้ ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีที่ดีในการสร้าง Traffic สำหรับเว็บไซต์ แต่สำหรับ Facebook แล้วเหมือนเป็นการที่พยายามทำให้คนออกจากแพลตฟอร์มของ Facebook ซึ่งจะทำให้ Facebook เกิดการแสดงผลที่น้อยลงได้
ค่าสถิติสำหรับการวัดผล KPI บน Facebook
– Reach นับจำนวนคนที่มองเห็น ซึ่งจะนับเป็นจำนวนคน แบบไม่ซ้ำ ซึ่งจำนวนคนที่มองเห็นไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะขายสินค้าได้เสมอไป แต่สามารถที่จะช่วยบอกได้ว่ามีคนเห็นคอนเทนท์ หรือแคมเปญของผู้ใช้มากน้อยแค่ไหน ถ้าต้องการสร้างการรับรู้หรือกระจายคอนเทนท์ หรือแคมเปญ ขยายออกเป็นวงกว้าง Reach ถือว่าเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดี
– Impression นับจำนวนผู้ที่มองเห็นแต่ในส่วนของ Impression จะนับเป็นจำนวนครั้งที่เกิดการมองเห็นซึ่งจำนวนคนที่เห็นอาจจะเป็นคนเดิมที่มาเห็นซ้ำได้
– Click จำนวนคนที่คลิกเข้าไปดูคอนเทนท์, แคมเปญ หรือลิงค์ที่ไปยังเว็บไซต์ของคุณ ยิ่งจำนวนการคลิกมีมากเท่าไหร่แสดงว่ามีคนให้ความสนใจสื่อของคุณมากเท่านั้น แต่การให้ความสนใจก็ไม่ได้แปลว่าทุกคนที่คลิกเข้ามาจะซื้อหรือใช้บริการธุรกิจสินค้าของคุณ ในส่วนของการคลิกจะเป็นตัวบอกว่ามีคนให้ความสนใจในคอนเทนท์หรือแคมเปญนั้นเป็นจำนวนเท่าไร มากน้อยเพียงใด
– Engagement คือ คนที่เข้ามามีปฎิสัมพันธ์ต่อคอนเทนท์ หรือแคมเปญ ไม่ว่าจะเป็นการกดไลค์ คอมเมนต์ หรือการแชร์ออกไป ซึ่ง Engagement ของแต่ละคนอาจจะระบุเพียงแค่การกดไลค์ หรือการกดแชร์ก็ได้ ในส่วนนี้ต้องมีการสื่อสารให้ตรงกันว่า Engagement ที่ต้องการนั้นคืออะไร การมี Engagement บอกถึงความสนใจที่ผู้บริโภคที่มีให้กับคอนเทนท์ หรือแคมเปญนั้น การที่มี Engagement เป็นจำนวนมากสามารถบอกได้ถึงสิ่งที่ทำ ได้ให้ความช่วยเหลือหรือแก้ปัญหาให้กับผู้บริโภคได้
– Action เป็นการกระทำต่อคอนเทนท์ หรือแคมเปญ เช่น การสั่งซื้อสินค้า การลงทะเบียนเรียน หรือ การทำตามสิ่งที่บอกให้ทำในคอนเทนท์นั้น ซึ่งในส่วน Action ยิ่งมีจำนวนมากเท่าไหร่โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการทำก็มีมากขึ้นเท่านั้น
KPI สำหรับการทำโฆษณา
KPI สำหรับการทำโฆษณา ในส่วนนี้สามารถใช้ได้ทั้งในกรณีวิเคราะห์แคมเปญที่ได้ทำขึ้นมา รวมไปถึงใช้สำหรับพูดคุยกับเอเจนซี่เพื่อระบุสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการให้ทำการตลาดในรูปแบบไหน ถ้ามีความชัดเจนมากเท่าไหร่ก็สามารถที่จะประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายในการทำการตลาดมากขึ้น KPI ที่ใช้สำหรับการทำการตลาด ได้แก่
- CPM (Cost per thousand impression)
Cost per thousand impression (CPM) คือ ค่าใช้จ่ายต่อการมองเห็น 1,000 ครั้ง การมองเห็นในที่นี้จะนับรวมคนที่เห็น โฆษณานั้นซ้ำๆ ด้วยเช่นกัน การซื้อโฆษณาประเภทนี้ไม่แนะนำสำหรับเป้าหมายในการสร้างยอดขาย เนื่องจากคนเห็นโฆษณาเพียงอย่างเดียว อาจจะไม่ได้สนใจในการซื้อสินค้านั้น ซึ่งจะเป็นการทำให้ผู้ใช้เสียเงินไปกับการมองเห็นเป็นจำนวนมาก
- CTR (Click through rate)
Click through rate (CTR) คือ จำนวนอัตราคนคลิกต่อการมองเห็น ยิ่งมีคนคลิกที่แคมเปญสินค้าของคุณมาเท่าไหร่ จะเป็นจุดที่บอกถึงความสนใจที่ผู้บริโภคมีให้กับแคมเปญสินค้าของคุณมากเท่านั้น ถ้าจำนวนเปอร์เซ็นต์มีจำนวนมากสามารถบอกได้ว่าผู้บริโภคได้ให้ความสนใจในแคมเปญสินค้ามาก
- CPC (Cost per click)
Cost per click (CPC) คือ ค่าใช้จ่ายต่อ 1 การคลิก ถ้าผู้ใช้ต้องการซื้อโฆษณาแนะนำตัวนี้เพราะว่า ต่อให้คนมองเห็นและไม่คลิกผู้ใช้ก็จะไม่เสียเงิน ผู้ใช้จะเสียเงินก็ต่อเมื่อมีคนคลิกโฆษณาเท่านั้น สำหรับตัวชี้วัดว่า ผู้ใช้ได้จ่ายเงินในการโฆษณาแบบ CPC ถูกหรือแพง ต้องดู CVR ควบคู่กันไป
- CVR (Conversion rate)
Conversion rate (CVR) คือ เปอร์เซ็นต์ที่ใช้วัดคนที่ลงทะเบียน หรือซื้อสินค้าต่อคนที่เข้ามาเยี่ยมชมสินค้าของคุณ มีค่าตัวเลขเท่าไหร่ก็จะเป็นตัวที่ใช้บอกถึงความคุ้มค่าของ CPC ที่ได้จ่ายไป ยิ่งมีจำนวนเปอร์เซ็นต์มากก็ยิ่งดี เพราะแสดงว่าแคมเปญของคุณสามารถที่จะทำยอดขายได้
- CPA (Cost per action)
Cost per action (CPA) คือ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการทำแคมเปญต่อลูกค้า 1 คน ที่มีการซื้อสินค้าหรือบริการของคุณ เป็นค่าที่สำคัญที่สุดเพราะจะเป็นตัวที่กำหนดว่าแคมเปญนั้นได้กำไรหรือขาดทุน
ทั้งหมดนี้ คือ การวัดผล KPI บน Facebook สำหรับผู้ที่จะลงโฆษณาหรือทำธุรกิจบน Facebook ก็ควรศึกษาตัวดัชนีชี้วัดให้ดีก่อน ถ้าทำไปแล้วสินค้าหรือบริการนั้นจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด จะได้ไม่เสียงบประมาณไปโดยสิ้นเปลือง
เกาะติดข่าวสารการตลาดออนไลน์ เทคนิคการโปรโมทโฆษณา
แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์@inDigital ที่นี่
Fanpage : INdigital การตลาดออนไลน์
เว็บไซต์ : www.indigital.co.th